ร้าน ภรณ์ไผ่หวาน
www.pornphaiwhan.99wat.com
0804260466
Niti2495
 
พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ ทันโต เสฏโฐ เนื้อทองคำ ปี2533


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
ภรณ์ไผ่หวาน
โดย
Nithiporn
ประเภทพระเครื่อง
พระเนื้อทองคำ
ชื่อพระ
พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ ทันโต เสฏโฐ เนื้อทองคำ ปี2533
รายละเอียด
พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ ทันโต เสฏโฐ เนื้อทองคำ ปี2533 พิธีใหญ่ อุดผงจิตรลดาและพระทนต์ในหลวง
#รุ่นแรก
พระทองคำ 16.6 กรัม
พร้อมกล่อง

พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ ทันโต เสฏโฐ เนื้อทองคำ ปี2533 พิธีใหญ่ อุดผงจิตรลดาและพระทนต์ในหลวง

ความเป็นมาในการจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.

ศ. ท.ญ. ท่านผู้หญิง เพ็ชรา เตชะกัมพุช ยินดีที่มอบชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๙ ชิ้นส่วนพระทนต์องค์กรามน้อยบนซึ่งแตกบิ่นออกมา พร้อมทั้งวัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำพระทนต์ ตลอดจนครอบทองที่เคยทำพระทนต์ไว้ ให้แก่คณะทันตแพทย์เพื่ออัญเชิญเป็นองค์ประกอบหลักของพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ที่จะจัดสร้าง จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกราบพระบาทเพื่อกราบบังคมทูลมีใจความว่า “เรื่องที่ข้าพระพุทธเจ้าจะกราบบังคมทูล ข้าพระพุทธเจ้ามิทราบด้วยเกล้าฯ ว่าจะเป็นการบังควรหรือไม่ ถ้าไม่เป็นการบังควรข้าพระพุทธเจ้ากราบพระบาทขอพระราชทานอภัย เนื่องด้วยคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จะมีอายุครบ ๕๐ ปี ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓ นี้ คณะฯ ดำริจะจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ขึ้นเพื่อให้คณาจารย์และศิษย์เก่าทุกคนมีไว้สักการะบูชา แต่เนื่องด้วยเป็นทันตแพทย์ องค์ประกอบหลักสิ่งใดคงไม่ดีเท่าพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่รักและเทิดทูนสูงสุดของเหล่าข้าพระพุทธเจ้า จึงใคร่ขอพระราชทาน”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนิ่งอยู่สักครู่ แล้วจึงทอดพระเนตรชิ้นส่วนพระทนต์พร้อมกับทรงรับสั่งว่า “เท่าใดจึงจะพอ จะทำพระกี่องค์จะได้ทั่วถึง กันหรือ” และทรงรับสั่งต่ออีกว่า“ทุกอย่างอยู่ที่ศรัทธา ถึงจะมีหรือไม่มีพระทนต์ก็คงไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าศรัทธาก็ยินดีให้ ขอเพียงให้อาจารย์และทันตแพทย์ทุกคนเป็นคนดี และช่วยสั่งสอนศิษย์และคนอื่นให้เป็นคนดีต่อไป”

ศ. ท.ญ. ท่านผู้หญิง เพ็ชรา เตชะกัมพุช เมื่อได้ยินพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ท่าน ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อคณาจารย์และศิษย์เก่าทันตแพทย์เป็นอย่างยิ่งที่ทรงมีพระเมตตาพระราชทานพระทนต์ เพื่อการจัดสร้างพระครั้งนี้จากพระราชกระแสรับสั่งแสดงว่าพระองค์ท่านทรงนึกถึงบ้านเมือง ทรงต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี บ้านเมืองจะได้มีคนดีมากๆ เพื่อนำชาติไทยให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ด้วยเหตุนี้ พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ทุกองค์จึงมีคำว่า “ทนฺโต เสฏฺโฐ”ซึ่งแปลว่า “ฝึกตนได้ประเสริฐ “ โดยสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปรินายก ได้ทรงเมตตาประทานตามกระแสพระราฃดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ต่อมาทางคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ขอพระราชทานผงจิตรลดาและพระปรมภิไธยย่อ ภ.ป.ร. เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐานในองค์พระที่จัดสร้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทาน นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่เปรียบมิได้แก่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมควรที่คณาจารย์และศิษย์เก่าจะต้องจดจำสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและดำเนินตามรอยพระยุคลบาท โดยตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามพระราชกระแสรับสั่งที่ทรงฝากไว้

ศ. ท.ญ. ท่านผู้หญิง เพ็ชรา เตชะกัมพุช ยินดีที่มอบชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๙ ชิ้นส่วนพระทนต์องค์กรามน้อยบนซึ่งแตกบิ่นออกมา พร้อมทั้งวัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำพระทนต์ ตลอดจนครอบทองที่เคยทำพระทนต์ไว้ ให้แก่คณะทันตแพทย์เพื่ออัญเชิญเป็นองค์ประกอบหลักของพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ที่จะจัดสร้าง จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในปี 2533 ในวาระที่คณะทันตฯ ได้ก่อตั้งมาครบ 50 ปี และเป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระชนมายุ 90 พรรษา คณะฯ ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และศิษย์เก่า ตลอดจนมีผู้จิตศรัทธาได้ร่วมกันจัดสร้างอาคารโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ ขึ้น พร้อมครุภัณฑ์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเทิดพระเกียรติองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อาคารนี้จัดเป็นโรงพยาบาลทางทันตกรรมแห่งแรกในประเทศไทย ที่ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้านศัลยกรรมช่องปาก กระดูกขากรรไกรและใบหน้า รวมทั้งโรคฟันอื่น ๆ ครบวงจร ในวโรกาสเดียวกันนี้ ยังได้จัดสร้างพระรูปหล่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขนาดเท่าพระองค์จริง ประดิษฐานไว้ ณ บริเวณโถงชั้น 2 อาคารโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์นี้ เพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะของเหล่าอาจารย์ นิสิต ข้าราชการ บุคลากร และประชาชนที่มารับบริการด้วย ต่อมาในปี 2536 ในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระชนมายุ 93 พรรษา คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ท่าน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม อาคารโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ ว่า “อาคารสมเด็จย่า 93” ซึ่งนับเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งแก่คณะทันตแพทยศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทำพิธีเปิดเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2539

วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อพระพุทธชินสีห์ ภปร. ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้นำชิ้นส่วนพระทนต์ และผงจิตรลดามาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างวัตถุมงคล ณ วัดบวรนิเวศวรวิหาร วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2533 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินสีห์ ภปร. พระบูชา พระกริ่ง และพระผง

วัตถุประสงค์ของการสร้าง ๓ ประการ

๑.เป็นที่ระลึกแห่งการสถาปนาคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบรอบ ๕๐ ปี

๒. หารายได้สมทบทุนสร้างตึกและจัดตั้งกองทุนสำหรับใช้จ่ายในการพัฒนาการศึกษา

๓. สร้างความสามัคคีระหว่างทันตแพทย์ คณาจารย์ ศิษย์เก่าและปัจจุบัน

การจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ ภปร แบ่งขั้นตอนใหญ่ๆ ๓ ขั้นตอน

1.พิธีทำสารละลายพระบรมทนต์ พิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จกระจายทุกอณูของชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ถ่ายทอดไปยังพระทุกองค์ที่จัดสร้าง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธานในพิธี ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สารละลายพระบรมทนต์ถูกนำมาทำให้เป็นกลางและนำมาผสมกับผงพุทธคุณอื่นแล้วนำมาตากแห้ง กรองในตะแกรงแล้วผสมกับมวลสารอื่น เช่นผงจิตรลดา พระทุกองค์ที่จัดสร้างจะมีอณูของชิ้นส่วนพระทนต์อยู่ เพื่อคงไว้ซึงความศรัทธาและความสักดิ์สิทธิ์

2.พิธีเททองหล่อพระ

3.พิธีมหาพุทธาภิเษก

มวลสารที่บรรจุในพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำ ชิ้นส่วนพระทนต์แบบหล่อพระทนต์และชิ้นส่วนวัสดุอุดพระทนต์ วี่งเป็นมวลสารที่สำคัญ อีกทั้งยังทรงพระราชทานผงจิตรลดาอันเป็นมวลสารรวมแห่งความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธาของชาวไทยทั่วประเทศ มาเป็นมวลสารหลักในการสร้าง พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ครั้งนี้ ด้วยศรัทธาของทันตแพทย์และประชาชนทั่วไป จึงมีผู้บริจาคสารอื่นๆ ที่นับว่าหายากยิ่ง เพื่อนำมาผสมเป็นมวลสาร ล้วนแต่เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้ ซึ่งผู้ศรัทธา ได้เก็บรักษามานาน คณะกรรมการฯ ได้นำมวลสารที่รวบรวมได้ทั้งหมดเข้าทูลถวาย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก เพื่อทรงอธิษฐานจิตตลอดไตรมาส แล้วจึงนำมวลสารเหล่านี้มาผสมกับมวลสารหลัก เพื่อนำมาบรรจุในองค์พระที่จัดทำ โดยพระบูชาบรรจุในองค์พระใต้ฐาน พระกริ่งเจาะรูบรรจุพร้อมกับเม็ดกริ่งที่บริเวณ ส่วนพระผงได้ผสมกับเนื้อพระ

พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.

พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. พุทธลักษณ์ต่างจากพระกริ่งทั่วไป คงพระรูปพระพุทธชินสีห์ไว้ทางด้านหน้ามีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานอยู่ ส่วนที่ฐานด้านหลังมีลายพระหัตถ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระนามย่อ ญ.ส.ส. และคติพจน์ ทนฺโต เสฎฺโฐ ความสูงวัดจากยอดพระเกศถึงฐาน ๒๕ ซ.ม. ความกว้างฐานชั้นล่าง ๑๕.๙ ซ.ม. ใต้ฐานเจาะใส่ผงพระทนต์ในหลวง(ฟัน)และผงจิตรลดา ปิดฝาด้วยตราพระเกี้ยวและเลข ๕๐ ปี มีด้วยกัน ๓ เนื้อ คือ ทองคำ เงินและนวโลหะ

พระผงพิมพ์ใหญ่และพระผงพิมพ์เล็กพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.

พระผงพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. พุทธลักษณ์จำลองจากพระพุทธชินสีห์อยู่ในครอบแก้วมัดหวายผ่าซีก ทางด้านหน้าที่บริเวณฐานมีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานอยู่ ส่วนที่ด้านหลังมีลายพระหัตถ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระนามย่อ ญ.ส.ส. และคติพจน์ ทนฺโต เสฎฺโฐ ตัวจม มีพลอยแดงฝังอยู่ ขนาดพิมพ์ใหญ่ ความกว้าง ๒๓.๕ ม.ม. ความสูง ๓๓.๕ ม.ม. ความหนา ๔.๙ ม.ม. ขนาดพิมพ์เล็ก ความกว้าง ๑๗.๒ ม.ม. ความสูง ๒๔.๙ ม.ม. ความหนา ๓.๙ ม.ม.

การรวบรวมแผ่นทองนาคเงินจากพระเถระคณาจารย์

เป็นความมุ่งหมายของทัตแพทย์และผู้มีจิตศรัทธาที่จะรวมแรงร่วมใจในการสร้างพระครั้งนี้โดยได้นำแผ่นทองนาค เงินถวายพระคณาจารญทั่วประเทศเพื่อลงอักขระและอธิษฐานจิต

รายนามพระเถระที่ลงอักขระ ในที่จะกล่าวถึงบางองค์เท่าข้าพเจ้าพอรู้จัก ที่รวบรวมไม่หมด

1.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก

2.พระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ (อำพัน อาภรโณ)

3.พระราชสิงห์คณาจารย์ (แพ)

4.พระภาวนาวิสุทธิคุณ (จรัญ)

5.หลวงปู่บุดดา ถาวโร

6.หลวงปู่วัย จตตาลโย

7.หลวงปู่ดู พรหมปัญโญ

8.พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (ดี)

9.พระครูปลัดพรหม ติสสเทโว

10.พระครูเกษมธรรมานันท์ (แช่ม)

11.พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น)

12.พระครูสุนทรธรรมกิจสุวรรณกิจ (ดี)

13.พระครูสุนทรธรรมกิจ(หยอด)

14.พระอุดมสังวรเถร (อุตตมะ)

15.พระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ)

16.พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท

17.พระภาวนาพิศาลเถร (พุธ )

18.พระอาจารย์คูณ ปริสุทโท (ชู)

19.พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (ศรี)

20.พระครูญาณปรีชา (เหรียญ)

21.หลวงพ่อจันทรแรม

22.พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (เทศน์)

23.พระอาจารย์ทุย ฉันทกโร

24.หลวงปู่คำตัน ฐืตธัมโม

25.พระครูญาณธราภิรัต (ท่อน)

26.หลวงปู่หลุย จนฺทรสาโร

27.หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

28.พระอาจารย์ศรีธน สีลธโน

29.พระอาจารย์เผย วิริโย

30.พระอาจารย์ไพบูรย์ สุมงคโร

31.พระอาจารย์วิชัย เขมิโย

32.พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

33.พระอาจารย์เกษม เขมโก

34.พระอาจารย์หลวง กตปุญโญ

35.พระอาจารย์สมชาย ฐืตวิริโย

36.พระราชพุทธิรังษี (วิเชียร)

37.พระครูศรีฉฬังคสังวร (เริ่ม)

38.พระครูฐิติธรรมญาณ (ลี)

39.พระอาจารย์คำบอ ฐิตปัญโญ

40.พระอาจารย์แบน ธนากโล

41.พระครูวิเวกวัฒนาทร (บุญเพ็ง)

42.พระอาจารย์หล้า เขมปตโต

43.พระครูศาสนูปกรณ์ (บุญจันทร์)

44.พระอาจารย์คำพอง

(รับประกันพระแท้ทองคำแท้ตามหลักสากล)

ราคา
-
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
0804260466
ID LINE
Niti2495
จำนวนการเข้าชม
1,171 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ธนาคารกสิกรไทย / 272-2-54815-3